โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 47 – การออกกำลังกาย (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 20 ธันวาคม 2566
- Tweet
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) เป็นรูปแบบหลักของกิจกรรมทางกายภาพ (Physical activity) ที่ถูกพูดถึง (Discussed) เมื่อประเมิน (Evaluating) ผลลัพธ์ทางสุขภาพ (Health out-come) ข้อมูลมากมาย (Abundance) แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ (Benefit) ทางกายภาพ, จิตใจ (Mental), และอารมณ์ (Emotion) ที่มีต่อสุขภาพ
สาเหตุหลัก (Leading cause) ของการเสียชีวิตทั่วโลกคือโรคหัวใจ (Heart disease) และอัมพาต (Stroke) ในสหรัฐอเมริกา โรคหัวใจเป็นสาเหตุอันดับที่ 1 ในขณะที่อัมพาตเป็นสาเหตุหลักอันดับที่ 5 ทั้งสองโรคนี้มีปัจจัยเสี่ยงเดียวกัน เช่น ระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ผิดปกติ (Abnormal), เบาหวาน (Diabetes), และความดันเลือดสูง (Elevated blood-pressure) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Altered) ด้วยกิจกรรมทางกายภาพ
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก มีผลลัพธ์ที่ดี (Beneficial effect) ต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และมีผลที่ดีต่อการควบคุม(Control) ระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
อันที่จริง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเชื่อมโยง (Associated) กับการลดความต้านทานต่ออินซูลิน (Insulin resistance), ลดโอกาส (Risk) ของการเป็นโรคเบาหวาน, ปรับปรุง (Improve) ระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว และลดโอกาสตายสำหรับผู้ที่มีเบาหวานชนิด 1 และชนิด 2
การออกกำลังกายยังสามารถปรับปรุงความดันเลือดได้ การศึกษาวิจัย (Research) พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกแค่ 30 นาทีต่อครั้ง, 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถลดความดันเลือดได้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกมีผลที่ดีต่อความดันเลือด ซึ่งเป็นตัวที่เชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่น (Intricately related) กับวิวัฒนาการของคราบจุลินทรีย์ (Plaque)
คราบดังกล่าว โดยตัวมันเอง ก็กำหนดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง การออกกำลังกายแบบแอโรบิก จึงมีผลที่ดี (Positive effect) ต่อปัจจัยเสี่ยง แม้จะผลทางอ้อมต่อการลดความเสี่ยงดังกล่าว การออกกำลังกายยังมีผลกระทบต่อส่วนประกอบสารเคมีทางชีวภาพ (Bio-chemical make-up) ของผนังหลอดเลือด (Blood-vessel wall) โดยตรง
กระบวนการดังกล่าว สามารถชะลอกระบบการพัฒนา (Progression) ลิ่มเลือดได้ โดยที่การออกกำลังกายเพียง 3.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถหยุดกระบวนการพัฒนาลิ่มเลือด (Arterial plaque) ในหัวใจได้หลังจากปีเดียว แต่ถ้าเพิ่มเป็น 5 ชั่วโมง อาจเกิดการย้อนกลับ (Regression) ของลิ่มเลือดได้จริง ๆ
ดังนั้น โดยตรงและโดยอ้อม การออกกำลังกายผลักดันให้มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น (Improved) ต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกปานกลาง (Moderate) อย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ลดลงระหว่าง 18 ถึง 20% และการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีความหนักมาก (High intensity) สามารถลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจลงได้ระหว่าง 15 ถึง 22% ในผู้ชายและผู้หญิง
แหล่งข้อมูล –